ความแตกต่างระหว่าง เหล็กชุบกัลวาไนซ์ กับเหล็กชุบซิงค์

ความแตกต่างระหว่างเหล็กชุบกัลวาไนซ์ กับเหล็กชุบซิงค์

หากนึกถึงวัสดุสำหรับการก่อสร้างที่มีความแข็งแรงและทนทานมากที่สุด หลายคนก็คงนึกถึงเหล็ก เพราะเหล็กนั้นเป็นแร่ที่มีความแข็งแรงสูง ไม่สามารถทุบให้แตกหรือตัดทำลายได้ง่าย
อย่างไรก็ตามภายใต้ความแข็งแกร่งของเหล็กนั้น ก็ยังมีจุดบกพร่องหนึ่ง คือไม่ทนทานต่อความชื้นเพราะความชื้นจะนำไปสู่การเกิดสนิมบนผิวเหล็ก และกัดกร่อนให้เหล็กนั้นเสื่อมสภาพและพังทลายได้ง่าย เพราะฉะนั้นในการก่อสร้างวัสดุใด ๆ ก็ตาม ที่ทำจากเหล็ก ก็มักถูกนำไปชุบเคลือบสารต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความทนทานต่อสภาพอากาศ รวมถึงยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยการชุบเหล็กที่เราได้ยินกันบ่อยมากที่สุด นั่นก็คือการชุบสังกะสี กับการชุบกาวาไนซ์ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร


เหล็กกัลวาไนซ์สามารถแบ่งได้ตามกระบวนการการผลิตเป็น 2 ประเภทคือ


เหล็กกัลวาไนซ์ PreZinc
นิยมเรียกกันว่า เหล็กขาว โดยมีกระบวนการผลิตคือ การนำคอยส์เหล็กผสมซิงค์ Zinc (สังกะสี) มาขึ้นรูปและรีด แต่จะยังคงไว้ซึ่งคุณสมบัติกันสนิม เนื่องจากเนื้อเหล็กมีส่วนผสมของสังกะสีอยู่ในตัว จึงไม่จำเป็นต้องพ่น หรือทาสีกันสนิมเพิ่ม อีกทั้งความแข็งแรงยังคงเทียบเท่ากับเหล็กรูปพรรณธรรมดาทั่วไป นิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการก่อสร้าง


เหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized
คือการนำเหล็กไปเคลือบกัลวาไนซ์ผ่านวิธีการ ชุบ ทา หรือพ่น กัลวาไนซ์ ลงบนผิวเหล็กเพื่อป้องกันสนิม กระบวนการผลิตหลายขั้นตอนและหลากหลาย เหล็กกัลวาไนซ์ชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากป้องกันสนิมได้ในระดับสูง ส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ในการสร้าง ท่อเดินน้ำมันทางทะเล ความแตกต่างระหว่างชุบกัลป์วาไนซ์กับชุบสังกะสี การชุบกัลวาไนซ์ก็คือการชุบฮอตดิบกัลวาไนซ์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dipped Galvanized) แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่าการชุบกัลวาไนซ์แทน โดยการชุบจะชุบจนมีความหนาประมาณ 65 – 300 ไมครอน หรือขึ้นอยู่กับสเปคงานที่ลูกค้าต้องการ ส่วนใหญ่งานประเภทนี้จะนิยมนำไปใช้งานเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดสนิมกับเหล็กในพื้นที่กลางแจ้งซึ่งสารมีการสลายตัวประมาณปีละ 1 ไมครอน โดยส่วนใหญ่อายุการใช้งานจะยาวนานเกิน 20 ปี

ส่วนการชุบสังกะสีหรือชุบซิ้งค์ คนไทยเรามักจะนิยมเรียกว่า การชุบอิเลกโครเพลทติ้ง ที่มีกระบวนการชุบสังกะสีด้วยไฟฟ้า โดยจะมีความหนาประมาณ 5- 10 ไมครอน นิยมใช้กับงานที่เหล็กไม่อยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศอันเลวร้าย โอกาสการเกิดสนิมมีค่อนข้างน้อยหรือเหล็กอยู่ในร่ม